สวัสดีครับ
วันนี้ผมไปงานวันสื่อสารแห่งชาติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาครับ แน่นอนว่างานนี้จัดโดย กสทช. ครับ เป็นในลักษณะที่ต่างจากที่ผมไปทุกที คือเป็นงานนิทรรศการที่หน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดิจิตอลทีวีมาจัดกิจกรรมและแสดงผลงานกันครับ (ภาพอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ เพราะถ่ายด้วย iPhone 3G ซึ่งเก่ามากแล้ว -3-)
การบรรยายต่อไปนี้จะไล่ไปตามงานที่ผมเดเินไปเรื่อยๆ นะครับ
กสทช. : ว่าด้วย USO และ CyberSecurity
บูธของ กสทช. จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ครับบ คือด้านกิจการทั่วไปของ กสทช. กิจการ USO และ Cyber security ครับ แน่นอนครับว่าเป็นนิทรรศการบรรยายพื้นฐาน ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก
ที่น่าสนใจคือเครื่องวุ้นแปลภาษาสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน (หูหนวก) เครื่องนี้จะใช้บัตรประชาชน Smart card เพื่อยืนยันตัวตน ก่อนจะเชื่อมต่อผ่านระบบ internet ไปยังศูนย์ เพื่อให้คนปกติหรือผู้พิการทางการมองเห็นพูดใส่หูโทรศัพท์ให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์แปลงข้อมทูลเป็นภาษามือให้ผู้พิการทางการได้ยินรับทราบข้อความ และทำกลับกันเพื่อสื่อสารกับอีกฝ่ายครับ ตัวระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย แต่อาจจะเกร็งๆ หรือสื่อกันผิดคนไปบ้าง (สับสนว่ากำลังพูดกับล่ามหรือผู้พิการฯ กันแน่)
ตอนลองใช้งาน ยอมรับครับว่าเกร็งๆ และสับสนในการใช้งานบ้าง เพราะเจ้าหน้า่ที่สาธิตนั่นก็ผู้พิการฯริงๆ จอก็มีจอเดียวบางครั้งเลยคิดว่ากำลังคุยกับเจ้าหน้าที่หน้างานหรือล่ามกันแน่ แต่โดยรวมก็ถือว่าดีครับ
เครื่องนี้ไม่ใช่ตัวต้นแบบแล้วนะครับ เป็นเครื่องใช้งานจริงๆ อยู่ใน 120 จุดทั่วประเทศครับ
ThaiPBS : เรายกสถานีมาไว้ที่นี่
บูธต่อไปที่หลายคนที่ไปร่วมงานกล่าวขาน นั่นคือ ThaiPBS ครับ (#ผมนี่ตรงดิ่งเลย) ไปถึงก็นับว่าสมคำกล่าวขานนะครับ มีครบตังแต่ห้องถ่ายทำ (ผมได้ลองอ่านข่าวด้วย เกร็งและเลิ่กลั่กไปหน่อย เพราะอ่านสคริปต์กระดาษโดยตรง ไม่ใช่ Teleprompter) ห้องตัดต่อ (มีแม้กระทั่งประมวลผล Model 3 มิติเลย) แม้กระทั่ง….
ใช่ครับ มีแม้กระทั่งเครื่องส่ง Digtal TV เลย ดูได้จริงด้วย นับถือในความตั้งใจจริงๆ – -)b
นอกจากห้องส่งจำลองแล้ว ยังมีห้องมืดสำหรับทดลองฟัง Audio Description สำหรับผู้พิการทางการได้ยินด้วยครับ ลองฟังตัวอย่างเสียงดู
ความรู้สึกที่ได้ มันเหมือนกำลังอ่านหนังสือนิยายที่มีเสียงพากษ์กับเสียง Background ประกอบด้วย ได้อรรถรสดีครับ น่าเอาไปทำ audio book เสียจริง
ช่อง 7 สี : ทีวีเพื่อคุณตั้งแต่รุ่นปู่ จนรุ่นหลาน
บูธช่อง 7 จะเป็น 3 ส่วนหลักๆ ครับ คือส่วนโชว์ตัวดารา โซนถ่ายรูปกับฉากเสมือน (ฉากเขียวๆ ด้านขวานั่นไงครับ ไปถ่ายมาด้วย >//<) และก็นิทรรศการข้อความครับ น่าสนใจตรงที่เป็นข้อมูลและภาพรายการเก่าๆ ที่ผมเองไม่เคยได้ดูมาก่อน คลาสสิกจริงๆ ครับ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
โดยภาพรวมจะเป็นการสาธยายบทบาทหน้าที่ของ สนง. และพูดถึงระบบทะเบียนราษฎร์และระบบคอมพิวเตอร์รัฐแบบรวมศูนย์ครับ
ที่น่าสนใจของบูธนี้คือตู้บริการข้อมูลทะเบียนราษฎร์ครับ ตู้นี้เราสามารถนำบัตรประจำตัวประชาชนของเรามาเสียบเพื่อดูข้อมูลต่างๆ ในระบบฐานข้อมูลรัฐ รวมถึงประกันสังคม สปสช. และเครดิตบูโรด้วยครับ ที่สำคัญเราสามารถสั่งพิมพ์ข้อมูลได้ (ถ้าระบบอนุญาตให้พิมพ์นะครับ)
DTAC : 4G สู่บริการทั่วไทย
ของ DTAC จะเป็น 2 ส่วนครับ คือส่วนแสดงศักยภาพของโครงข่าย 4G LTE ที่จะเป็นโครงข่ายในอนาคตผ่านสัญญาณ 1800 ครับ (มีให้ลองใช้ VoLTE ด้วย แต่เสียงเวทีกลางดังมาก เลยไม่ค่อยได้ยินอะไรมาก) และโครงการ DTAC เน็ตอาสาครับ
EGAT (กฟผ.): ไม่ได้มีดีแค่เรื่องไฟฟ้า ไฟเบอร์เราก็มีนะ
ในบูธนี้จะมีอธิบาย 2 เรื่องหลักครับ
เรื่องแรก คือเรื่องของ Smart grid ครับ แม้ในหลายที่จะเป็นระบบ 500 kV แบบ N-2 (ใช้จริง N-2 สาย จากทั้งหมด N สาย) แล้ว แต่ในบางที่ยังเป็น N-1 (ภาคใต้ที่ไฟดับครั้งก่อนก็เนื่องจากระบบสายไฟจากตอนบนเป็น N-1 แล้วบังเอิญสายหลักโดนฟ้าผ่า อีกสายก็ดันซ่อมบำรุงพอดี กว่าจะดึงเอาสายที่ซ่อมบำรุงมาใช้ได้ก็ต้องใช้เวลา ไฟเลยดับครับ) ซึ่งกำลังปรับให้เป็น N-2 ให้หมดเพื่อเชื่อมโยงระบบไฟไม่ให้มีการดับเฉพาะภูมิภาคอีก และนำสายไฟแรงสูงในเขตเมืองใหญ่ เช่น กทม. ลงใต้ดิน
ส่วนอีกเรื่องที่หลายคนไม่อาจรู้ นั่นคือ กฟผ. มีสายไฟเบอร์ออพติกในสายไฟฟ้าแรงสูงด้วย ประมาณ 32 คอร์ แต่ใช้งานจริงแค่ 16 คอร์เท่านั้น ที่เหลือเลยปล่อยให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเช่า (ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น CAT และ TOT) โดยไปตั้ง Gateway ที่ substation ของ กฟผ.
Ericsson : RFID และ Intelligence things
ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความสามารถของ intelligence thing ครับ เช่นลูกเบสบอลมีเซ็นเซอร์นับครั้งการเดาะ เซ็นเซอร์วัดความเร็วและมุมเพื่อดูการชูตลูก หุ่นยนต์เสริมพัฒนาการเด็กให้ได้ฝึกการเล่นดนตรีและการเคลื่อนไหวตามหุ่นยนต์โดยควบคุมผ่าน iPad
นอกจากนี้ยังมี RFID Tag บนกระดาษด้วยครับ แตะเข้ากับ smartphone ก็ดูข้อมูลและ alert เมื่อเกิดปัญหา เช่นอาหารมีกุ้ง เป็นต้น
HUAWEI : Trunked radio เดี๋ยวนี้เห็นหน้าได้แล้วนะ
ตามภาพเลยครับ ไม่มีรายละเอียดเท่าไหร่ ;w;
TOT: การสื่อสารเพื่อปวงชน
ด้านหน้าบูธไม่ค่อยมีอะไรมากครับ เป็นการประชาสัมพันธ์ทั่วไปของ TOT สิ่งที่น่าสนใจหลบอยู่ด้านหลังซะนี่ – -”
อย่างแรกคือระบบโทรอักษร เป็นระบบ SMS แบบแชตเพื่ออำนวยความสะดวกในการพูดคุยของผู้พิการทางการได้ยินผ่านโทรศัพท์ปกติครับ
อีกระบบคือระบบสุขศาลาออนไลน์ เป็นระบบ Video conference เพื่อการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกลครับ
ปิดท้าย
ยังมีอีกหลายบูธที่ผมยนังไม่ได้พูดถึงอีกเยอะเลย ที่น่าสนใจก็มีเยอะครับ
โดยรวมถือว่าอยู่ในระดับปานกลางนะครับ ไม่ได้น่าเบื่อมาก แต่ก็ไม่ได้ตื่นตาตื่นใจอะไรเท่าไหร่นัก อาจจะเพราะไปวันสุดท้ายด้วย เลยไม่ได้เห็นของจัดแสดงเยอะเท่าไหร่ แต่กิจกรรมหลายๆ บูธ นับว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
ที่ว้าวจริงๆด้าน telecom เห็นจะเป็น Ericsson ที่มี RFID PaperTag กะ IoT กับ Huawei ที่มี Multimedia Trunk Radio (ผมนึกว่าเลิกทำไปแล้วนะ) มาโชว์
ของTV ก็ ThaiPBS ที่จัดเต็มยกสถานีมาให้ลองเล่นกะฟัง AD พากษ์เหมือนอ่านหนังสือเลย กะช่อง 7 นิทรรศการน่าดูมาก ของภาครัฐที่น่าชมก็ตู้วุ้นแปลภาษาของ #กสทช นับถือในการนำเสนอจริงๆ กับของ TOT มีโทรอักษรให้เล่นด้วย แต่ดันหลบมุมซะนี่ แต่เซ็งอย่างคือเวทีกลางเสียงดังไปหน่อย ของที่ต้องฟังเสียงอย่าง dtac VoLTE นี่ฟังไม่รู้เรื่องเลย เสียดายมาก หลายอย่างผมเองก็เพิ่งรู้ เช่นของสำนักสถิติที่มีตู้ให้ดูดข้อมูลทะเบียนราษฎร์กะ กฟฝ. ที่มีสาย fiber ในสายไฟแรงสูงด้วย เงิบจริงไรจริง
เป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับว่าเมืองไทยเรามีการพัฒนาการด้าน IT และ digital เร็วมาก หวังว่า กสทช. จะจัดงานในลักษณะนี้มากขึ้นนะครับ
TL;DR
ช่องทีวีในงานส่วนใหญ่ถ้าไม่เปิดของตัวเองก็ช่อง Mono 29 หรือ ThaiPBS ครับ – -”
ช่อง 3 เป็นแนวให้ดาราโชว์ตัวกะฉากถ่ายรูป (อยู่หน้างานซะด้วย)