รีวิว DEVIO NB-Shield I และ Mini-project: Cellular Tower logger

สวัสดีครับ หลังจากที่ AIS ประกาศ pre-order module NB-IoT ไปเมื่อเดือนธันวา​คม​ที่ผ่านมา ผมซึ่งสนใจจะนำมาใช้กับ senior project อยู่แล้วเลยสั่งซื้อมาชุดหนึ่ง และเมื่อเดือนพฤษภา​คม​ที่ผ่านมา module ก็เปิดให้ซื้อ เลยเป็นที่มาของรีวิวครั้งนี้ครับ NB-IoT คืออะไร NB-IoT หรือ Narrow-band Internet​of Things คือเทคโนโลยี​โทรคมนาคมแบบ LTE ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์​ที่เน้นการสื่อสารไม่เน้นความเร็วมาก แต่เน้นการประหยัดพลังงาน และมีการติดต่อสม่ำเสมอด้วยข้อมูล​ปริมาณ​น้อย เช่นระบบโทรมาตร หรืออุปกรณ์​สั่งการต่างๆ ที่ไม่เน้นความรวดเร็ว​ในการตอบสนอง (non real-time applications) โดยทำงานในช่วง subcarier กว้างราวๆ 200 KHz ของความถี่สำหรับให้บริการโทรศัพท์​มือถืออยู่แล้ว (กรณีของ AIS ทำงานที่ 900 MHz)​ NB-IoT มีข้อดีสำคัญที่ดีกว่าการใช้เครือข่าย LTE ปกติ เช่น: เครือข่ายของ NB-IoT​ เป็นเคือข่ายที่แยกต่างหากจากเครือข่ายมือถือปกติ ความแออัดจึงน้อยกว่า ประหยัดพลังงานกว่า…

Read More

Arduino: Wireless long-distance Infrared remote control via nRF24L01 module

สวัสดีครับ ช่วงนี้ก็อยู่ในช่วงฟุตบอลยูโร – โคปาอเมริกา ดูบอลทีก็ตั้งแต่สองทุ่มยันสว่างคาตาน่ะครับ *-*)  โชคดีที่ปิดเทอมเลยนอนตื่นสายเท่าไหร่ก็ได้ ปัญหามันมีอยู่ว่า ที่บ้านผมมันมีแต่กล่องดาวเทียมอยู่ชั้นล่าง แต่ที่นอนที่ผมดูบอลมันอยู่ชั้นบน ก็เลยต้องใช้การลากสายไฟที่ดัดแปลงหัวท้ายเป็น AV Jack จากชั้นล่างขึ้นมาชั้นบน ตรงนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา ยาวไปหน่อยแต่ก็พอกล้อมแกล้มไปได้ แต่การจะควบคุมกล่องดาวเทียมนี่สิครับ ด้วยความที่มันไม่สามารถเสียบสายไฟแล้วควบคุมได้แบบ AV ได้ (ถึงได้แต่ผมไม่มีสายไฟที่ยาวพอเหลือแล้ว -3-) ครั้นจะทำวงจรเฉพาะก็ดูจะไม่คุ้มเพราะใช้แค่ชั่วคราวครับ กลับมหาวิทยาลัยก็ถอดกลับเลยใช้ (อีกอย่างคือร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในต่างจังหวัดนี่แทบหาไม่ได้เลยครับ สั่ง ปณ. ก็ไม่คุ้มอีก) Arduino คู่กับโมดูล 2.4 GHz Transceiver เพื่อช่วยยืดระยะสัญญาณจึงดูตอบโจทย์ดีครับครับ สำหรับ Code ตัวอย่างสามารถดาวน์โหลดได้จาก Github ครับ     Arduino IR Download อุปกรณ์หลักๆ Arduino 2 ตัว nRF24L01 (จริงๆ เป็น Transceiver ตัวอื่นก็ได้ครับ รับ/ส่ง ASCII…

Read More

โปรแกรม ATTiny ได้ง่ายๆ ด้วย Arduino Mega

สวัสดีครับ วันนี้กำลังจะเริ่มรันโปรเจ็กบอลลูนอีกครั้งหลังจากที่หยุดไปนานเพราะเจ้างานว่างแล้ว และผมสนใจจะเพิ่ม ATTiny เข้าไปเพื่อลดจำนวน Pin ของ Raspberry Pi ก็เลยลองเอา ATTiny มาลองโปรแกรมเข้าไปดูครับ ATTiny จริงๆ มันก็คือ chip microcontroller ตัวหนึ่งจาก Atmel นั่นแหละครับ แต่มีขนาดเล็กกว่ากันเยอะ ใช้พื้นที่ไม่มาก แต่ก็ทำงานได้ไม่เยอะสักเท่าไหร่เพราะ memory มันมีน้อยเช่นกัน (ไม่แน่ใจว่า 10 kb หรือเปล่านะครับ) เหมาะสำหรับควบคุมงานง่ายๆ เช่นอ่านค่าจาก sensor ไปเป็น I2C ไว้ส่งค่าเข้า uC ใหญ่อีกที อย่างนี้เป็นต้น การใช้งาน ในที่นี้ก็ไม่ยุ่งยากมากครับ มีแค่ Arduino ตัวหนึ่งกับสายไฟสี่ห้าเส้นและ cap ตัวหนึ่งก็โปรแกรมได้แล้วครับ ขั้นตอนหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก เริ่มต้นก็เปิดคอม เปิดเฟซบุ๊ก สั่ง Arduino แล้วก็เลิกทำ ไม่ใช่ล่ะ Download Arduino…

Read More

มาลองยำ Arduino: เล่าสู่กันฟัง และปัญหาที่เจอ

สวัสดีครับ หลังจากที่หายไปนาน ช่วงนี้กำลังทดลองยำ เอ้ย!  ทดลองใช้ Arduino กับเซ็นเซอร์ Transceiver และ WiFi Module ESP8266 ครับ ตอนนี้ที่ได้เป็นระบบ Control panel  แสดงผลเซ็นเซอร์ขึ้นจอ OLED และอัพโหลดข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ทุก 5 วินาที (ซึ่งดูจะถี่ไปหน่อย แต่ก็เอาไว้ทดสอบดูน่ะครับว่าจะอัพโหลดกันไหวมั้ย?) ใครสนใจลองเอาไปดู เข้าไปโหลดไฟล์ ino และ libraries ที่ใช้ (บางตัวผมโมเพิ่มให้ใช้ดีขึ้น [สำหรับผมเองน่ะนะ – -] ด้วย) ที่ https://github.com/itpcc/Arduino-Experiment และ https://github.com/itpcc/arduino_oled_weather_station/ ครับ ระหว่างทำก็เจอปัญหาระหว่างทำที่พอจะเล่าให้ฟัง มีดังนี้ครับ (ใครสงสัยหรืออยากให้อธิบายส่วนใดแบบละเอียดบอกได้นะครับ เดี๋ยวจะเขียนเพิ่ม) ปัญหาไฟไม่พอ (5V) อาจจะเป็นเพราะผมพารานอยด์ไปเองก็ได้ แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงมันเยอะเหลือเกิน (ที่ Mega มี nRF, ESP8266, RTC, GY-651 และ…

Read More