ESP8266: สั่งการ ESP ด้วยฟ้าใสผ่าน Anto.io

สวัสดีครับ หลังจากที่ตอนที่แล้วเราอัพเดตเฟิร์มแวร์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาลองใช้ ESP8266 เป็นสถานีลูกข่ายในการควบคุมไฟฟ้าและส่งข้อมูลไปกลับกับฟ้าใส เลขาแว่นส่วนตัวผ่านระบบของ Anto.io ครับ หมายเหตุ : ณ วันที่เขียนบทความ ฟ้าใสยังรองรับแค่ระบบของ Anto.io และ NETPIE แต่ผมลองของ NETPIE แล้วใช้งานยาก ไม่สะดวกเท่าที่ควร เลยใช้ระบบของ Anto นะครับ สร้าง Endpoint บน Anto.io หลักๆ สามารถไล่ตาม Tutorial ของ Anto ได้เลยครับ อธิบายชัดเจนดี แต่หลักสำคัญคือ สร้าง Thing เพื่อให้มีหมวดหมู่ของข้อมูล สร้าง Channel และกำหนดประเภทข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ สร้าง Key ที่สามารถอ่านค่าได้ (และ/หรืออัพเดตค่าได้หากต้องการให้ส่งค่า) สำหรับ ESP สร้าง Key ที่สามารถอัพเดตค่าได้สำหรับแอพฟ้าใส (จริงๆ ใช้ key เดียวกับ ESP ก็ได้…

Read More

ESP8266 กับ Arduino : เชื่อมต่อสายและอัพเดต ROM version ใหม่ (AT Command)

สวัสดีครับ หลังจากที่ผมยำทดลองใช้ Arduinoเมื่อเทอมที่แล้ว ปิดเทอมนี้ หลังจากได้รับการอุดหนุน งปม. ปิดเทอมนี้ผมวางแผนว่าจะลองทำ IoT ต่อ (และมีบทความเป็นซีรีส์ตลอดปิดเทอมนี้นะครับ) นะครับ วันนี้ขอเริ่มด้วยการเริ่มใช้ ESP8266 ครับ (ในที่นี้ผมจะใช้ ESP-12E พร้อม breakout นะครับเพื่อความขี้เกียจลองตัวอื่นสะดวกในการอธิบาย ESP version อื่นก็คิดว่าใช้แบบเดียวกันได้) การเชื่อมต่อสาย ในหลายบทความสอนมักจะแนะนำให้ใช้ FTDI Module นะครับเพราะเป็นอุปกรณ์เฉพาะทางกว่า แต่โดยส่วนตัวผมมองว่าในเมื่อ Arduino มี USB to TTL ในตัวแล้ว ก็น่าจะใช้แทนกันได้ ข้อสำคัญในการใช้งานมีแค่ 3 ข้อ คือต่อสายให้ถูก อย่าให้ Arduino sketch ไปยุ่งกับ Serial (วิธีที่ง่ายที่สุดคืออัพโหลด blink ลงตัว Arduinoก่อนนำไปใช้ ยกเว้นใครใช้ Arduino Mega สามารถใช้ UART ชุดอื่นแล้วทำ bypass…

Read More

Python: การอ่านค่าสีในแต่ละ Pixel ของภาพด้วย PILlow

สวัสดีครับ หลังๆ มานี่ผมไม่ได้เขียน Blog เลย เหมือนเคยครับ งานยุ่งจริงๆ (จริงๆ ช่วงนี้ก็สอบปลายภาคด้วยล่ะครับ แต่นอนไม่หลับ เวลาชีวิตรวนตั้งแต่ทำโปรเจ็กแล้ว แหะๆ) บทความวันนี้ก็เกี่ยวกับโปรเจ็กที่ว่านี่ล่ะครับ เป็นโปรเจ็กเกมบน FPGA แบบง่ายๆ (เรียกว่างานเผาก็ย่อมได้) ใครสนใจไปดูได้บน Github FPGA “IA Journy” game ครับผม แต่ที่ผมจะนำเสนอวันนี้คือ script สร้างโมดูลวาดภาพภาษา Verilog ด้วย Python อีกที งานหลักๆ ก็ตามชื่อบทความนั่นแหละครับ คืออ่านขนาดภาพและไล่อ่านค่าสีของแต่ละ pixel ก่อนเข้าสมการ (เรอะ?) เพื่อกำหนดค่าบิตสีขาออกจากโมดูลครับ ส่วนสาเหตุที่ใช้ Python ก็เนื่องจากว่า docs และ Stack Overflow มันเยอะ เขียนเผาๆ ก็จบงานได้ล่ะ :v This file contains bidirectional Unicode text…

Read More

itpcc.net ใช้ HTTPS (และย้ายมาใช้ THZHosting) แล้วน้า

สวัสดีครับ แจ้งข่าวสั้น ๆ ครับว่าหลังจากที่หมดอายุกับโฮสต์เดิม ผมเปลี่ยนมาใช้บริการ THZHosting พร้อมกับเพิ่ม HTTPS ให้เว็บแล้ว ต่อจากนี้ท่านสามารถเข้าได้ทั้ง http://itpcc.net (ซึ่งต่อไปจะทำ 302 redirect มาเข้า https นะครับ) และ https://itpcc.net ช่วงนี้หากยังเข้าไม่ได้ โปรดรอ DNS Server อัพเดตไม่เกิน 2-3 วันก็น่าจะเข้าได้เป็นปกติแล้วครับ 😀 หากท่านพบบั๊กหรือมีข้อเสนอแนะแจ้งเข้ามาได้ตามช่องทางที่ท่านสะดวกนะครับ จะ comment ใต้โพสต์นี้ก็ได้นะ ขอบคุณครับ…

Read More